ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 มิถุนายน 2568

บทความวิชาการ
ถอดรหัสมาตรฐานการจัดการด้านยา (มาตรฐาน HA ฉบับที่ 5) ด้วยแนวคิดการวัดผล : Episode I
ชื่อบทความ ถอดรหัสมาตรฐานการจัดการด้านยา (มาตรฐาน HA ฉบับที่ 5) ด้วยแนวคิดการวัดผล : Episode I
ผู้เขียนบทความ ภก.สุนทร ปภานิธินันท์
สถาบันหลัก สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
รหัสกิจกรรม 5002-1-000-004-04-2568
ผู้ผลิตบทความ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 22 เม.ย. 2568
วันที่หมดอายุ 21 เม.ย. 2569
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
บทความนี้ผู้เขียนได้พยายามรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์จากการเยี่ยมสำรวจประเมินรับรองในประเด็นหลุมพลางที่มักพบของการกำกับแลการใช้ยาโดยบทบาทของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด(PTC)เพื่อนำมาประมวล และให้โรงพยาบาลหรือผู้ที่จะพัฒนาขับเคลื่อนความปลอดภัยด้านยาตามมาตรฐาน HA ได้นำไปเทียบเคียงศึกษาเป็นบทเรียนในการนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาและทำความเข้าใจในมาตรฐาน HA ด้านระบบการจัดการด้านยา เพื่อให้บทความไม่ยาวจนเกินไปจะขอแบ่งบทความดังกล่าวออกเป็น 2 Episode โดย Episode ที่ 1 จะกล่าวถึงหัวข้อต่างๆในข้อกำหนดพื้นฐาน (Basic Requirement) ของ II-6.1การกำกับดูแลด้านยา และ Episode ที่ 2 จะเป็นข้อกำหนดพื้นฐาน (Basic Requirement) II-6.2 การปฏิบัติในการใช้ยา (Medication Use Practices) ในบทความนี้จะกล่างถึงในส่วนของ Episode ที่ 1 คือ II-6.1การกำกับดูแลด้านยาก่อน โดยการพัฒนาในบทบาทของการกำกับดูแลด้านยาในบทความนี้จะเน้นในเรื่องของการทำความเข้าใจในเป้าหมาย และการออกแบบในการวัดผล แต่จะไม่ลงลึกของการออกแบบกระบวนการเพราะพบว่า หลุมพรางที่สำคัญคือ การเข้าใจเป้าหมายที่จะนำไปสู่ การออกแบบวัดผลได้ตรงประเด็นและการออกแบบกระบวนการที่สอดคล้องกับเป้าหมายได้มากขึ้น และได้นำข้อกำหนดมาตฐานย่อย (Multiple requirement) ที่สำคัญ 3 ประเด็นใหญ่ๆมักพบว่าเป็นหลุมพรางในการทำความเข้าใจและการออกแบบหรือการนำไปปฏิบัติ ได้แก่ การจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูง, Antimicrobial Stewardship Program : ASP , การตอบสนองความคลาดเคลื่อนทางยา(ME)ที่เหมาะสม , การวัดผล ระบบการจัดการด้านยา และ Function PTC มาใช้เป็นบทเรียนในการศึกษามาตรฐาน HA ด้านระบบการจัดการด้านยา ควบคู่กันไปซึ่งการมุ่งเน้นที่การวัดผลนี้จะระบุถึงตัวอย่างตัวชี้วัดที่ควรวัด บทเรียนและหลุมพรางในการวิเคราะห์ รวมทั้งคีย์ที่สำคัญของมาตรฐานในแต่ละเรื่องดังกล่าวข้างต้น เพื่อนำมาปรับปรุงการวัดผลให้ตรงประเด็นตามมาตรฐาน และ ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและนำมาตรฐานไปใช้ได้ง่ายมากขึ้น
คำสำคัญ
การจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drug :HAD) , Antimicrobial Stewardship Program : ASP , การตอบสนองความคลาดเคลื่อนทางยา(ME)ที่เหมาะสม , การวัดผล ระบบการจัดการด้านยา , Function PTC