ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 มิถุนายน 2568

บทความวิชาการ
“Advancements in Antivenom Development and the Advantages-Disadvantages of Antivenom” “ความก้าวหน้าของการพัฒนา Antivenom และข้อดี-ข้อเสียของ Antivenom”
ชื่อบทความ “Advancements in Antivenom Development and the Advantages-Disadvantages of Antivenom” “ความก้าวหน้าของการพัฒนา Antivenom และข้อดี-ข้อเสียของ Antivenom”
ผู้เขียนบทความ นศภ.พรชิตา สังข์สวัสดิ์, นศภ.ปิยวรรณ อินทะจันทร์ และภก.ปกรณ์ สุขโข
สถาบันหลัก สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
รหัสกิจกรรม 5003-1-000-004-05-2568
ผู้ผลิตบทความ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 02 พ.ค. 2568
วันที่หมดอายุ 01 พ.ค. 2569
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
พิษจากสัตว์มีพิษ เช่น งู แมงป่อง และแมงมุม ยังคงเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญในระดับโลก โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทของประเทศเขตร้อน ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันเซรุ่มต้านพิษ (Antivenom) แบบดั้งเดิมที่ผลิตจาก antibody ของสัตว์ เช่น ม้า หรือแกะ ยังคงเป็นแนวทางการรักษาหลัก แต่เซรุ่มเหล่านี้มีข้อจำกัดทั้งด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และต้นทุน เช่น ความไม่จำเพาะกับพิษของสัตว์บางชนิด ความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้ และขั้นตอนการผลิตที่ยุ่งยากและมีต้นทุนสูง ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพและชีววิทยาโมเลกุล จึงได้มีการพัฒนาแนวทางใหม่สำหรับการสร้างภูมิคุ้มกันและผลิตเซรุ่มต้านพิษแบบใหม่ (next-generation antivenoms) โดยไม่จำเป็นต้องใช้พิษสัตว์โดยตรง ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีสำคัญต่าง ๆ เช่น การใช้ antibody จากไข่ไก่ (IgY), เทคโนโลยี phage display, humanized antibodies, DNA immunization, small molecular therapeutics (SMTs) และ nanobodies หรือ antibody ชนิดพิเศษจากอูฐ ที่มีขนาดเล็กและมีความจำเพาะสูง ทั้งนี้ยังมีการพัฒนา pluribody technology ที่ใช้พืชในการผลิต antibody ซึ่งช่วยลดการพึ่งพาสัตว์และลดต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย เทคโนโลยีเหล่านี้มีข้อดีในด้านความแม่นยำของการจับพิษ ความปลอดภัยที่สูงขึ้น ความสามารถในการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสายพันธุ์งูต่างๆ ได้ดีขึ้น และลดผลข้างเคียงจากการใช้ antibody จากสัตว์ อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้จริงในระดับอุตสาหกรรมยังต้องเผชิญกับความท้าทาย เช่น ความซับซ้อนของกระบวนการผลิต การคงตัวของ antibody บางประเภท และต้นทุนการพัฒนาในระยะเริ่มต้นที่ยังสูงอยู่ ในอนาคต การผสานแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันแบบใหม่เข้ากับสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมที่สามารถผลิต antibody ของมนุษย์อาจช่วยเพิ่มความปลอดภัยของเซรุ่มต้านพิษได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังอาจช่วยให้สามารถให้ยาได้ตั้งแต่ระยะแรกของการถูกพิษ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและเพิ่มโอกาสในการฟื้นตัวของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญ
คำสำคัญ
Snake venom, Antivenom, Antibodies, Nanobodies, Recombinant antivenom and Traditional antivenom