หลักการและเหตุผล
บทบาทของเภสัชกรในงานคุ้มครองผู้บริโภค คือ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพรัราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ในการตรวจสอบเฝ้าระวังสถานที่ผลิต สถานที่นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรสถานที่จำหน่าย และผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อควบคุมให้เป็นไปตามพระราชบัณญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งในการตรวจประเมินสถานที่ผลิตอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารรสุข (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาอาหาร และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 386 พ.ศ. 2560 เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิด และการแสดงฉลาก ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ของเภสัชกร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 436) พ.ศ.2565 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
การปกิบัติหน้าที่ของเภสัชกร ในงานคุ้มครองผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ในการตวจประเมินสถาที่ผลิดอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาอาหาร และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 386 พ.ศ. 2560 เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิด และการแสดงฉลาก เภสัชกรซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ มีความจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจตามประกาศฯ ดังกล่าว เพื่อให้สามารถให้คำแนะนำผู้ประกอบการในการปฏิบัติตามกฎหมาย การตรวจสอบเฝ้าระวังสถานที่และผลิตภัณฑ์อาหารเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน สอดคล้องกับหลักกฎหมาย เพื่อให้เกิดประสิทธิผลของการบังคับใช้กฎหมาย และเกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการ และประชาชนได้รับความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เภสัชกร จังหวัดอุบลราชธานี มีความรู้ความเข้าใจประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาอาการ และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 386 พ.ศ. 2560 เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิด และการแสดงฉลาก
2. เพื่อให้เภสัชกร จังหวัดอุบลราชธานี สามารถนำความรู้ไปใช้ในการแนะนำผู้ประกอบการตรวจสอบเฝ้าระวังสถานที่และผลิตภัณฑ์อาหารเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน และสอดคล้องกับหลักกฎหมาย