ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 มิถุนายน 2568

การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้านโรคติดเชื้อ ด้าน Strengthen Antibiotic Stewardship Program (ASP) ในหน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
ชื่อการประชุม โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้านโรคติดเชื้อ ด้าน Strengthen Antibiotic Stewardship Program (ASP) ในหน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
สถาบันหลัก กองบริหารการสาธารณสุข
รหัสกิจกรรม 3003-2-000-012-06-2568
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 18 -20 มิ.ย. 2568
ผู้จัดการประชุม กองบริหารการสาธารณสุข
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้านโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลระดับ A ,S, M1
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
เชื้อดื้อยาเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยส่งผลเพิ่มอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย และเพิ่มค่าใช้จ่ายในระบบบริการสุขภาพของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายชนิด เช่น multidrug-resistant organisms (MDROs), extensively drug-resistant organisms (XDRs) และ pan drug-resistant organisms (PDRs) ในประเทศไทย พบปัญหาเชื้อดื้อยาหลายชนิด โดยเฉพาะเชื้อแกรมลบดื้อยา ได้แก่ MDR-Pseudomonas aeruginosa (MDR-PA), MDR-Acinetobacter baumannii (MDR-AB), carbapenem-resistant Enterobacterales (CRE), extended-spectrum
beta-lactamases producing Escherichia coli/Klebsiella pneumoniae (ESBL-EC/KP) เป็นต้น ส่งผลให้การใช้ยาต้านจุลชีพในการรักษามีข้อจำกัดมากขึ้น
การรับมือกับเชื้อดื้อยาจึงเป็นไปในลักษณะของการลดอุบัติการณ์ของเชื้อดื้อยาลงเพื่อให้สามารถใช้ยาต้านจุลชีพเดิมได้ การศึกษาทางระบาดวิทยาและการศึกษาแบบ in vitro พบว่าการลดปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพที่มีผลกระตุ้นหรือส่งเสริมการดื้อยา จะทำให้เชื้อกลับมาไวต่อยาได้ จากการพบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการบริโภคยาในหน่วย defined daily dose (DDD) ต่อ 1,000 วันนอน กับอัตราการดื้อยาต้านจุลชีพแบบ MDRs การลดปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพ จำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรทางการแพทย์สาขาต่าง ๆ และนอกเหนือจากการลดปริมาณการใช้ยาแล้ว การมีระบบและกลวิธีที่จะส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล Antibiotic Stewardship Programs (ASP) สามารถลดอัตราการดื้อยา ลดปริมาณการใช้ยา และมีผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดย ในปี พ.ศ. 2554 สมาคมโรคติดเชื้อในประเทศสหรัฐอเมริกา (Infectious Diseases Society of America, IDSA) ได้ออกคำแนะนำในการนำ “antibiotic stewardship” มาใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างไม่ถูกต้อง และส่งเสริมการใช้ยา
ต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมมากขึ้น
กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU) และการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) ในสถานพยาบาล เพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและลดค่าใช้จ่ายด้านยา รวมทั้งลดปัญหาการติดเชื้อดื้อยา โดยมีแผนพัฒนาการจัดการฯ
ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ และเครือข่ายบริการสุขภาพอย่างบูรณาการ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์
การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันประกาศใช้แผนฯฉบับที่ ๒ พ.ศ. 256๖ – 2๕๗๐
และได้กำหนดเป้าหมาย และค่าเป้าหมายที่สำคัญที่สัมพันธ์กับมนุษย์ คือ ให้ประเทศไทย มีสถิติการป่วย
จากเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในมนุษย์ลดลงร้อยละ ๑0 และปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับมนุษย์ลดลงร้อยละ ๓๐ (เทียบกับปี ๒๕๖๐) ซึ่งการบรรลุเป้าหมายของนโยบายและแผนทั้งสองส่วนนี้ จำเป็นจะต้องพัฒนาบุคลากรภายในหน่วยบริการสุขภาพเหล่านั้นให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีประสบการณ์ด้วย
ดังนั้น กองบริหารการสาธารณสุขจึงร่วมกับ ฝ่ายพันธกิจเพื่อสังคม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้านโรคติดเชื้อ ด้าน Strengthen Antibiotic Stewardship Program (ASP) ในหน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเภสัชกรให้มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินการด้าน antibiotic stewardship program และสามารถทำงานร่วมกับแพทย์ พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุข เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของเภสัชกรโรงพยาบาลในการดำเนินการด้าน Antibiotic Stewardship Program (ASP) และรองรับแผนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU) และการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) ในสถานพยาบาล
2. เพื่อให้เภสัชกรที่ผ่านการอบรมสามารถทำงานร่วมกับแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้าน Antibiotic Stewardship Program (ASP) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อส่งเสริมการดำเนินการลดอัตราการดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลลดลง ส่งผลลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยที่จะไม่ต้องใช้ยาต้านจุลชีพราคาแพง
คำสำคัญ
Strengthen ASP
วิธีสมัครการประชุม
สมัครลงทะเบียนที่ https://moph.cc/ASP_invitation หนังสือเชิญประชุม