ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 มิถุนายน 2568

การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมวิชาการเภสัชศาสตรศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2568
ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการเภสัชศาสตรศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2568
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม 1006-2-000-025-05-2568
สถานที่จัดการประชุม ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และโรงแรมไมด้า แกรนด์ ทวาราวดี จังหวัดนครปฐม
วันที่จัดการประชุม 18 -20 พ.ค. 2568
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
กลุ่มเป้าหมาย คณาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์ 21 สถาบัน จำนวน 200 คน, เภสัชกรจากหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 20 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 11.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การศึกษาในวิชาชีพเภสัชศาสตร์มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาระบบสุขภาพและการดูแลผู้ป่วยในระดับประเทศและนานาชาติ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เทคโนโลยี และการแพทย์ในยุคปัจจุบัน ได้สร้างความท้าทายและโอกาสใหม่ๆ ให้กับการเรียนการสอนเภสัชศาสตร์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเภสัชกรในอนาคตให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของระบบสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป
สภาคณบดีคณะเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (สคภท.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัยทางเภสัชศาสตร์ ได้มอบหมายให้คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรร่วมหารือกับคณะอนุกรรมการด้านเภสัชศาสตรศึกษา ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนอาจารย์เภสัชศาสตร์จากทุกสถาบัน เพื่อจัดโครงการประชุมวิชาการด้านเภสัชศาสตรศึกษาอันจะนำไปสู่การพัฒนาอาจารย์เภสัชศาสตร์ในด้านต่างๆ สำหรับโครงการประชุมวิชาการเภสัชศาสตรศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2568 นี้ กำหนดจัดในระหว่างวันที่ 18-20 พฤษภาคม 2568 ณ จังหวัดนครปฐม ภายใต้ประเด็นหลักคือ "AI-Driven Innovations in Pharmacy Education: Transforming Learning, Practice, and Research"
ประเด็นหลักนี้สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านการเรียนการสอน การปฏิบัติวิชาชีพ และการวิจัยทางเภสัชศาสตร์ การประยุกต์ใช้ AI ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนรู้ เช่น การพัฒนาระบบการเรียนรู้ส่วนบุคคล (personalized learning) การจัดการข้อมูลที่ซับซ้อน และการวิเคราะห์งานวิจัยที่มีความซับซ้อน นอกจากนี้ การประชุมยังมุ่งเน้นการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรทางเภสัชศาสตร์ให้สามารถนำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อประโยชน์สูงสุดในงานวิชาการและการพัฒนาสุขภาพของประชาชน
การประชุมในครั้งนี้จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะช่วยผลักดันความก้าวหน้าของการศึกษาและการวิจัยทางเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย ตลอดจนสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของระบบสุขภาพในระดับประเทศต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อนำเสนอข้อมูลสำคัญ สถานการณ์ และทิศทางการจัดการศึกษาเภสัชศาสตร์ของไทย
2. เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์การดำเนินการด้านเภสัชศาสตรศึกษาระหว่างคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์
3. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเภสัชศาสตรศึกษา และร่วมอภิปราย แลกเปลี่ยนมุมมองผลงานวิจัยในกลุ่มคณาจารย์เภสัชศาสตร์
คำสำคัญ