การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ในการขับเคลื่อนชุมชนนักปฏิบัติด้านเอชไอวีด้วยโปรแกรม ECHO ระดับพื้นที่ปี 2568 และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เดือนพฤษภาคม
ชื่อการประชุม |
 |
การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ในการขับเคลื่อนชุมชนนักปฏิบัติด้านเอชไอวีด้วยโปรแกรม ECHO ระดับพื้นที่ปี 2568 และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เดือนพฤษภาคม |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
รหัสกิจกรรม |
 |
1002-2-000-024-05-2568 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
Grand Round ผ่าน ZOOM |
วันที่จัดการประชุม |
 |
02 -27 พ.ค. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
แพทย์ พยาบาลผู้ประสานงานด้านเอชไอวี เภสัชกร และบุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านการให้การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่รับยาต้านเอชไอวีจากโรงพยาบาล |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
13.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ด้วยประเทศไทยมีเป้าหมายยุติปัญหาเอดส์ในปี 2573 โดยการลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ลดการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวี และลดการเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องจากเอชไอวีและเพศภาวะ
ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ มาตรการที่สำคัญ คือ การเร่งรัดให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้เข้าถึงบริการดูแลรักษาที่มีคุณภาพมาตรฐาน จึงมีความจำเป็นต้องจัดระบบการเรียนรู้เพื่อสร้างชุมชนนักปฏิบัติด้านเอชไอวี
ให้กับบุคลกรทางการแพทย์ ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ พยาบาล และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
มีศักยภาพและมีการเชี่ยวชาญในการบริการดูแลรักษาเอชไอวี โดยจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรม ECHO ที่มีหลักในการเคลื่อนย้ายองค์ความรู้ไปสู่บุคล แทนการเคลื่อนย้ายบุคคลไปหาองค์ความรู้ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติและผู้เชี่ยวชาญ ได้องค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพบริการดูแลรักษาด้านเอชไอวี
อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ในปี 2568 กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีแผนจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ในการขับเคลื่อนชุมชนนักปฏิบัติด้านเอชไอวี ด้วยโปรแกรม
ECHO ระดับพื้นที่ ปี 2568 ในพื้นที่ต้นแบบ จำนวน 11 แห่ง เพื่อขยายการดำเนินงานโดยขยายในพื้นที่ต้นแบบใหม่ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดชลบุรี และจังหวัดอุบลราชธานี และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับจังหวัดต้นแบบเดิม ให้สามารถขยายการดำเนินงานจังหวัดใหม่ในเขตพื้นที่ใกล้เคียงได้นำไปสู่
การสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติที่มีขีดความสามารถในด้านการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบบริการด้านเอชไอวีให้มีการจัดบริการด้านเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและยั่งยืน ที่ส่งผลให้บรรลุเป้าหมาย 95-95-95 ต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ให้สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ด้านเอชไอวี และโรคร่วมต่าง ๆ ได้แก่ วัณโรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคไวรัสตับอักเสบบีและซี รวมถึงการพัฒนาคุณภาพระบบการดูแลรักษาเอชไอวี
2. เพื่อสร้างเครือข่ายการจัดการเรียนรู้และขับเคลื่อนชุมชนนักปฏิบัติด้านเอชไอวี ด้วยโปรแกรม ECHO ในระดับพื้นที่
คำสำคัญ
กิจกรรม ECHO, ชุมชนนักปฏิบัติด้านเอชไอวี
วิธีสมัครการประชุม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณศิวนันท์ มาแจ้ง E-mail :machaengsivanun@gmail.com โทร.0635926993