ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 มิถุนายน 2568

การประชุมวิชาการ
โครงการพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบกระบวนการฝึกงานและเภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึก เรื่อง “แนวทางการประเมินการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพให้สอดคล้องกับศักยภาพที่แท้จริงของนักศึกษา”
ชื่อการประชุม โครงการพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบกระบวนการฝึกงานและเภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึก เรื่อง “แนวทางการประเมินการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพให้สอดคล้องกับศักยภาพที่แท้จริงของนักศึกษา”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รหัสกิจกรรม 1008-2-000-006-05-2568
สถานที่จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และรูปแบบ Online (ผ่านระบบ Zoom meeting)
วันที่จัดการประชุม 23 พ.ค. 2568
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
กลุ่มเป้าหมาย อาจารย์ผู้รับผิดชอบกระบวนการฝึกงาน เภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึก และคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง นอกเหนือจากการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิชาการแล้ว การฝึกปฏิบัติงานยังเป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ ทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการประกอบวิชาชีพ อย่างไรก็ตามกระบวนการประเมินผลการฝึกปฏิบัติงานในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดบางประการ หนึ่งในปัญหาสำคัญคือการใช้เกณฑ์การประเมินที่เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับนักศึกษาทุกคน แม้ว่านักศึกษาแต่ละคนจะมีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ผู้ประเมินยังมีความหลากหลาย ทั้งในแง่ของประสบการณ์ มุมมอง และวิธีการให้คะแนน ส่งผลให้คะแนนที่ได้รับอาจไม่ครอบคลุมและสอดคล้องกับศักยภาพที่แท้จริงของนักศึกษา
การประเมินผลการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพที่สามารถสะท้อนศักยภาพของนักศึกษาแต่ละคนได้อย่างแม่นยำ โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถเฉพาะบุคคล ตลอดจนการพัฒนาคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้นิสิตบรรลุเป้าหมายของการฝึกปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ คณะอนุกรรมการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพสาขาโรงพยาบาลจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับอาจารย์ผู้รับผิดชอบกระบวนการฝึกงานและเภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึก เกี่ยวกับแนวทางการประเมินการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสม เสริมสร้างความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานจริง และเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นเภสัชกรในอนาคต
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบกระบวนการฝึกงานและเภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกในประเด็นดังต่อไปนี้
1.มีความรู้และความเข้าใจการประเมินนักศึกษา
2.สามารถประเมินการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพได้สอดคล้องกับความรู้และทักษะของนักศึกษา
คำสำคัญ