ชื่อการประชุม |
 |
โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง “NEW KNOWLEDGE ON DED-MGD-OA and THE HOW TO” |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
รหัสกิจกรรม |
 |
1001-2-000-026-05-2568 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ และประชุมออนไลน์ |
วันที่จัดการประชุม |
 |
25 พ.ค. 2568 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน (โอสถศาลา) |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
เภสัชกร และผู้สนใจทั่วไป |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
2 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เภสัชกรชุมชนเป็นหนึ่งในบุคลากรทางการแพทย์ที่ใกล้ชิดประชาชน เนื่องจากงานบริบาลเภสัชกรรมที่มีความต้องการเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น การให้คำแนะนำในร้านยาเน้นไปที่อาการ ภาวะหรือโรคที่พบบ่อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาการเบื้องต้นที่อาจนำไปสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้ ประชาชนส่วนใหญ่เลือกเข้ารับบริการในร้านยาซึ่งมีข้อได้เปรียบหลายประการ เช่น ความสะดวกในการเข้ารับบริการ เข้าถึงง่ายประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเข้ารับบริการ เภสัชกรมีบทบาทสำคัญในการใช้บริบาล และส่งเสริมการเข้าถึงยาและบริการสุขภาพให้แก่ประชาชนทั้งในบริบทของสถานพยาบาล และร้านขายยา ดังนั้นองค์ความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับโรคและแนวทางการรักษาโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะโรคที่ผู้ป่วยมักเข้ามาปรึกษาที่ร้านยาก่อนเป็นขั้นแรก กอปรกับปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความทันสมัยมากขึ้น เภสัชกรชุมชนจึงจำเป็นต้องเข้าถึงทั้งแนวทางการรักษาที่ทันสมัยและข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ทันยุคเพื่อสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการได้อย่างเหมาะสม
สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน (โอสถศาลา) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมศักยภาพของเภสัชกรให้สามารถให้การบริบาลทางเภสัชกรรมโรคหรืออาการที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุเกี่ยวกับดวงตาและข้อกระดูก ได้แก่ โรคตาแห้ง (Dry Eye Disease, DED), ภาวะต่อมไขมันเปลือกตาอุดตัน (Meibomian Gland Dysfunction) และโรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis,OA)
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการแสดง เกณฑ์การประเมินความรุนแรงของอาการโรคตาแห้งและข้อเสื่อม
2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของเภสัชกรร้านขายยาในการให้คำปรึกษาผู้ที่มีปัญหาตาและข้อเสื่อม
วิธีสมัครการประชุม
สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน ( โอสถศาลา )
E-mail : osotsala@pharm.chula.ac.th
โทร : 02-218-8428
เภสัชกรที่สนใจเข้าฟังในห้องประชุมจำนวน 80-150 ท่าน และเภสัชกรเข้าฟังผ่านการประชุมออนไลน์จำนวน 150-300 ท่าน