ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 มิถุนายน 2568

การประชุมวิชาการ
UBU pharmacy conference 2025 (UBPHAR 2025)
ชื่อการประชุม UBU pharmacy conference 2025 (UBPHAR 2025)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-2-000-027-06-2568
สถานที่จัดการประชุม โรงพยาบาลยโสธร จังหวัดยโสธร
วันที่จัดการประชุม 06 มิ.ย. 2568
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรในจังหวัดยโสธรและจังหวัดใกล้เคียง จำนวน 60 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพได้มาตรฐานตามแผนการจัดระบบบริการสุขภาพ (serviceplan)และนโยบายทางสาธารณสุขของประเทศ มีความสำคัญในกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและรักษาโรค สำหรับสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ และโรคติดเชื้อในปัจจุบันมีการอุบัติใหม่และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว อาทิเช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นต้น ทำให้แนวทางการรักษาโรคมีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence based medicine)บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องพัฒนาองค์ความรู้ให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงแนวทางการรักษาโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้น เภสัชกรซึ่งเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในการใช้ยาและเป็นหนึ่งในทีมสุขภาพมีหน้าที่ให้การบริบาลทางเภสัชกรรมจึงจำเป็นต้องพัฒนาองค์ความรู้เพื่อให้เกิดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาในการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงสุดการปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดีนั้นต้องอาศัยปัจจัยที่สำคัญหลายประการ แต่ปัจจัยหนึ่งที่ขาดเสียมิได้ คือความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับแนวทางการจัดการโรคและข้อมูลทางยาที่ทันสมัยทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรมและการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านเภสัชศาสตร์ เภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ตลอดจนให้การบริการวิชาการอย่างต่อเนื่อง ตามพันธกิจของคณะเภสัชศาสตร์ ดังนั้น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงได้กำหนดจัดโครงการประชุมวิชาการ เรื่อง UBU pharmacy conference 2025 (UBPHAR 2025) โดยมุ่งเน้นการให้ความรู้ด้านวิชาการและนวัตกรรมการบริบาลผู้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง แก่บุคลากรในวิชาชีพเภสัชกรรม เภสัชกรประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานศิษย์เก่า บุคลากรทางการแพทย์ และผู้สนใจ เพื่อให้เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ที่ทันสมัย มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และเป็นการเตรียมความพร้อมและยกระดับการให้บริการทางสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัย
วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะเภสัชศาสตร์กับเครือข่ายทางวิชาชีพ เครือข่าย / องค์กรชุมชน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ
2) เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์บทบาท พันธกิจ และผลงานของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
3) เพื่อให้ความรู้ด้านวิชาการและนวัตกรรมการบริบาลโรคติดเชื้อและโรคอุบัติใหม่ แก่บุคลากรในวิชาชีพ เภสัชกรรม เภสัชกรประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงาน ศิษย์เก่า บุคลากรทางการแพทย์ และผู้สนใจ
คำสำคัญ