ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

การประชุมวิชาการ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ AiM series: AI Chatbot to Improve Pharmacy Services (Online)
ชื่อการประชุม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ AiM series: AI Chatbot to Improve Pharmacy Services (Online)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม 1006-2-000-032-08-2568
สถานที่จัดการประชุม ออนไลน์
วันที่จัดการประชุม 04 -06 ส.ค. 2568
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรและบุคลากรทางสาธารณสุข จำนวน 35 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 16.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ยุทธศาสตร์สุขภาพดิจิทัล กระทรวงสาธารณสุข (2564-2568) มีจุดมุ่งหมายในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับปรุงระบบการแพทย์ของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและเข้าถึงได้ง่ายสำหรับทุกคน โดยการนำเทคโนโลยีอย่างปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์และการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพเข้ามาใช้ ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้แม่นยำ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ยังช่วยลดต้นทุนการรักษาและเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยสามารถติดตามสุขภาพของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในวงการแพทย์ไทยนี้ถูกคาดหวังว่าจะเป็นตัวกำหนดอนาคตของการแพทย์ การปฏิบัติทางการแพทย์ และการดูแลสุขภาพของประชาชน
การให้บริการเภสัชกรรม (Pharmacy Service) หมายถึงบริการต่าง ๆ ที่มีบุคลากรทางการแพทย์ผู้มีความรู้และทักษะด้านยาหรือผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพเป็นผู้ให้บริการในสถานบริการด้านสุขภาพ เช่น การจ่ายยาผู้ป่วย การประสานรายการยา การประเมินผลข้างเคียง การให้ข้อมูลยา การติดตามผลการรักษา และการจัดหา จัดซื้อยา เป็นต้น ในยุคดิจิทัลปัจจุบัน การพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) จึงเป็นสิ่งที่หลายองค์กรให้ความสำคัญและมองหาวิธีการในการนำมาประยุกต์ใช้กับงานในทุกสาขาอาชีพ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปรับปรุงการให้บริการทางเภสัชกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้การให้บริการมีคุณภาพมากขึ้น ลดภาระงานซ้ำซ้อน และเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาและผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพแก่ผู้ป่วย โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "AI Chatbot to Improve Pharmacy Services (Online)" จึงจัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการพัฒนาแชทบอท AI ให้แก่เภสัชกรและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ในการให้บริการเภสัชกรรมและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์สุขภาพดิจิทัลของประเทศไทยอย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์
1.มีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือสำหรับการพัฒนาแชทบอทปัญญาประดิษฐ์เพื่อการให้บริการเภสัชกรรม โดยการฝึกปฏิบัติตามโจทย์ตัวอย่าง
2.ประยุกต์ใช้ความรู้และความเข้าใจในการออกแบบและพัฒนาแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการเภสัชกรรม ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน ตรงกลุ่มเป้าหมาย
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
www.pharmacy.su.ac.th