ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

การประชุมวิชาการ
โครงการจัดประชุมวิชาการโรงพยาบาลเอกชนปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
ชื่อการประชุม โครงการจัดประชุมวิชาการโรงพยาบาลเอกชนปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
สถาบันหลัก กองบริหารการสาธารณสุข
รหัสกิจกรรม 3003-2-000-022-08-2568
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 01 ส.ค. 2568
ผู้จัดการประชุม กองบริหารการสาธารณสุข
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรโรงพยาบาล เอกชน จำนวน 100 คน ผู้บริหาร และบุคลากร ขององค์การเภสัชกรรม จำนวน 20 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบัน ระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านนโยบายสาธารณ สุขเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยและความคาดหวังของผู้ป่วยที่สูงขึ้นส่งผลให้บทบาทของเภสัชกร โดยเฉพาะในโรงพยาบาลเอกชนมีความสำคัญยิ่งขึ้นไม่เพียงแต่ในด้านการบริหารจัดการยา แต่ยังรวมถึงการให้คำปรึกษาการติดตามผลการใช้ยาและการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยาและประสิทธิภาพในการรักษา
ในการนี้เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เภสัชกรในภาคเอกชนได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และ สามารถเก็บหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง (Continuing Pharmacy Education: CPE) ตาม ข้อกำหนด ของสภา เภสัชกรรม โครงการประชุมวิชาการเภสัชกรโรงพยาบาลเอกชน จึงถูกจัดขึ้น เพื่อ เป็นเวทีในการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ ์ และองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการบริบาลเภสัชกรรม ในบริบทของโรงพยาบาลเอกชน และคลินิก การประชุมครั้งนี้จะเน้นหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของเภสัชกรในระบบบริการสุขภาพเอกชน เช่น แนวทางการบริหารจัดการยา การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU) การบริบาลทางเภสัชกรรมที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient-Centered Care) การจัดการด้านยาในระบบประกันสุขภาพ รวมถึงการปรับตัวต่อกฎหมายหรือระเบียบใหม่ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเภสัชกรรม
การจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมในภาคเอกชนให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศและสนับสนุนให้เภสัชกรสามารถรักษามาตรฐานวิชาชีพตามข้อกำหนดของการศึกษาต่อเนื่องที่กำหนดโดย สภาเภสัชกรรมทั้งนี้คาดหวังว่า การจัดทำโครงการดังกล่าวจะช่วยให้การบริหารยาและเวชภัณฑ์ของเภสัชกรโรงพยาบาลเอกชน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และนำข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการยาขององค์การเภสัชกรรมจากเภสัชกรมาปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์การเภสัชกรรมและโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เสริมสร้างภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมและความรู้ทางเภสัชกรรม ผ่านการสนับสนุนกิจกรรมที่ส่งเสริมวิชาชีพเภสัชกรรมและบริการสุขภาพ
2. ขยายเครือข่ายความสัมพันธ์กับเภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ กลุ่มเป้าหมายสำคัญช่วยเพิ่มโอกาสทางการตลาดและการรับรู้ผลิตภัณฑ์ขององค์การเภสัชกรรม
3. เผยแพร่ความรู้ และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ขององค์การเภสัชกรรม ถ้วยกระตุ้นความสนใจและความเข้าใจผลิตภัณฑ์ยา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
โรงพยาบาลเอกชน
วิธีสมัครการประชุม
หนังสือเชิญ