ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

การประชุมวิชาการ
งานประชุมเชิงปฏิบัติการ “Pharmacotherapy in psychiatric patients and Adverse Drug Event management”
ชื่อการประชุม งานประชุมเชิงปฏิบัติการ “Pharmacotherapy in psychiatric patients and Adverse Drug Event management”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-2-000-032-08-2568
สถานที่จัดการประชุม โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี
วันที่จัดการประชุม 14 -15 ส.ค. 2568
ผู้จัดการประชุม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรจากโรงพยาบาลในเขตบริการสุขภาพที่ 10 จำนวน 7๐ คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 10 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ในระบบบริการสุขภาพจิตของประเทศไทย ยาจิตเวชถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคทางจิตเวช เช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรคจิตเวชในเด็ก โดยเฉพาะยากลุ่ม antipsychotics, antidepressants, psychotropic drugs in children and adolescent ซึ่งมีบทบาทในการควบคุมอาการ ลดการกลับเป็นซ้ำ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม ยาจิตเวชหลายชนิดมีอาการไม่พึงประสงค์ (adverse drug reactions) ที่รุนแรงหรือต้องมีการติดตามใกล้ชิด เช่น extrapyramidal symptoms (EPS), ภาวะ hyperprolactinemia, metabolic syndrome, sedation ซึ่งหากไม่ได้รับการประเมินและจัดการอย่างเหมาะสม อาจกระทบต่อความร่วมมือของผู้ป่วย และคุณภาพการรักษาโดยรวม
นอกจากนี้ การใช้ยาต้านโรคจิต ชนิดออกฤทธิ์เนิ่น (Long-acting injection : LAI) ได้รับการยอมรับมากขึ้นว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในการเพิ่ม adherence หรือความร่วมมือของผู้ป่วยที่มีแนวโน้มลืมรับประทานยา หยุดยาเอง หรือมีประวัติเข้ารับการรักษาซ้ำบ่อยครั้ง LAI ช่วยลดอัตราการกลับเป็นซ้ำ การนอนโรงพยาบาลซ้ำ และลดภาระผู้ดูแล แต่การใช้ LAI ต้องพิจารณาหลายปัจจัย เช่น ชนิดของยา, ข้อบ่งใช้, ระยะเวลาออกฤทธิ์, วิธีการให้ยา, และการติดตามผล จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจอย่างครอบคลุม
เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป มีบทบาทสำคัญในการให้คำปรึกษาแก่แพทย์และผู้ป่วย การติดตามผลข้างเคียงของยา แต่ในหลายพื้นที่ยังขาดโอกาสเข้าถึงการอบรมที่มีประเด็นเฉพาะด้านจิตเวชโดยตรง ดังนั้น การจัดโครงการนี้ จึงมีความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรให้สามารถใช้ยาจิตเวชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และทันต่อแนวทางใหม่ๆ รวมถึงสามารถประเมินอาการไม่พึงประสงค์และเสนอแนะการจัดการที่เหมาะสม พร้อมทั้งเพิ่มความเข้าใจในการใช้ LAI อย่างถูกต้อง เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย
วัตถุประสงค์
๑.เพื่อให้เภสัชกรมีความรู้และทักษะในการใช้ยาจิตเวชต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
๒. เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประเมินและจัดการอาการไม่พึงประสงค์จากยาจิตเวช
๓. เพื่อให้เภสัชกรเข้าใจหลักการใช้ยา Antipsychotic long acting injectable drugs
คำสำคัญ