ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

การประชุมวิชาการ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายยา ประจำปี 2568
ชื่อการประชุม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายยา ประจำปี 2568
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-2-000-033-07-2568
สถานที่จัดการประชุม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
วันที่จัดการประชุม 19 ก.ค. 2568
ผู้จัดการประชุม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 150 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 7 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ร้านขายยาเป็นหนึ่งในระบบสุขภาพที่อยู่ใกล้ชิดประชาชน ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่ในการกระจายยาเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นที่พึ่งทางด้านสุขภาพของชุมชน เป็นทางเลือกหนึ่ง ของประชาชนในการเข้ารับบริการเมื่อมีอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น นอกจากนี้ ร้านขายยายังเป็นแหล่งให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ การแนะนำและส่งต่อไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตามความเหมาะสม ถือเป็น ส่วนหนึ่งของระบบสาธารณสุข ประชาชนจึงเข้าถึงบริการได้ง่าย ประกอบกับร้านยาเป็นหน่วยหนึ่ง ในภาคเอกชน การบริหารจัดการหรือการดำเนินการต่างๆ จึงสามารถช่วยประหยัดงบประมาณการคลังของรัฐในการดูแลสุขภาพของประชาชนซึ่งมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นมาโดยตลอดได้
ร้านขายยาถือเป็นธุรกิจหนึ่งในธุรกิจทางด้านการแพทย์และสุขภาพที่มีการแข่งขันสูง และกำลังเติบโตต้อนรับสังคมผู้สูงอายุในปัจจุบัน จากปริมาณร้านยาที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการตรวจพบการกระทำผิดมากขึ้นจากสถิติของสภาเภสัชกรรม พบการกระทำผิดของเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ จำนวนคดี และความรุนแรงในการลงโทษมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น โดยที่มาจากการได้รับการร้องเรียนจากประชาชน เป็นจำนวนมาก และได้รับการประสานงานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต ขายยานอนหลับ ขายยาชุด ขายยาแก้แพ้แก้ไอ ขายยาเขียวเหลืองและการขายยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษโดยมิใช่เภสัชกร ในพื้นที่หลายจังหวัด โดยพฤติการณ์ ใช้พนักงานขายยาที่ไม่ใช่เภสัชกรซึ่งขาดความรู้ความเข้าใจในสรรพคุณ ข้อบ่งใช้และข้อพึงระวังในการขายยา อีกทั้งยังพบของกลางวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ยาปลอม ยาอันตราย และยาควบคุมพิเศษเป็นจำนวนมาก ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืน พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาร้านขายยาที่ได้รับอนุญาต ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ได้มาตรฐาน และปลอดภัยต่อผู้รับบริการ
2. เพื่อร่วมกันหาแนวทางการพัฒนาร้านยาให้ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ควบคุมกำกับร้านยาตามกฎหมาย กับผู้รับอนุญาตร้านขายยา และผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ
3. เพื่อร่วมกันหามาตรการในการควบคุมกำกับ และป้องปราม การกระทำเสี่ยงฝ่าฝืนกฎหมาย ในร้านขายยา
4. สร้างความเข้มแข็งให้ร้านยาและเกิดเครือข่ายความร่วมมือระดับจังหวัด
คำสำคัญ