การประชุมวิชาการ
งานประชุมวิชาการ The 9th NCARO Infectious Disease Pharmacists 2024: Therapeutic Stewardship in Infectious Diseases: a Continuum of Clinical Pharmacy Expertise
ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการ The 9th NCARO Infectious Disease Pharmacists 2024: Therapeutic Stewardship in Infectious Diseases: a Continuum of Clinical Pharmacy Expertise
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2003-2-000-004-02-2567
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องคอนเวนชั่นบี และซี โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11
วันที่จัดการประชุม 28 ก.พ. 2567 - 01 มี.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรโรงพยาบาล ,เภสัชกรผู้สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 18 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพมีความซับซ้อนอย่างมาก กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับปัญหานี้จึงจัดการให้มีการบูรณาการการทำงานด้านการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เภสัชกรเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพที่เกิดขึ้นในสถานพยาบาลและภายในชุมชน ในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทางด้านวิชาการในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรีย การรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านเอชไอวีเพื่อการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีสู่คู่สัมผัส การปรับปรุงสูตรยาต้านเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพต่อการรักษาเพิ่มมากขึ้น ลดการดื้อยาและอาการข้างเคียงจากยา ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เภสัชกรต้องมีการศึกษาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะทางด้านเภสัชบำบัดให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปอยู่เสมอ
ในปี 2567 นี้เป็นครั้งแรกที่สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และกลุ่มเภสัชกรผู้ดูแลการบำบัดผู้ป่วยโรคติดเชื้อด้วยยาต้านจุลชีพ (ประเทศไทย) ได้ร่วมกันจัดประชุมวิชาการประจำปีแบบคู่ขนานกันสำหรับเภสัชกรที่มีความสนใจหรือปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการบำบัดรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ติดเชื้อวัณโรค และผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ภายใต้ชื่องานว่า The 9th National Pharmacy Conference on Antimicrobial Agents and Resistant Organisms (NCARO) Infectious Disease Pharmacists 2024: Therapeutic Stewardship in Infectious Diseases: a Continuum of Clinical Pharmacy Expertise โดยมุ่งหวังที่จะสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะทางด้านเภสัชบำบัดของเภสัชกร ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้การบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคติดเชื้อได้อย่างมีคุณภาพ มีมาตรฐานที่ดี และเป็นที่ยอมรับต่อทีมสหสาขาวิชาชีพ อันจะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคโรคติดเชื้อให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีความรู้จำเป็นในการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ติดเชื้อวัณโรค และผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในงานบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ติดเชื้อวัณโรค และผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ผ่านการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Case-based learning)
3.เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเภสัชกรในการประยุกต์การใช้ยาต้านจุลชีพให้เหมาะสมในโรงพยาบาลสอดคล้องกับมาตราฐานโรงพยาบาล (Antimicrobial Stewardship Program; ASP)
คำสำคัญ
SOPITT ,HIV/AIDS/TB, infectious disease, Antimicrobial, โรคติดเชื้อ, NCARO
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนที่ www.thaihp.org