การประชุมวิชาการ
โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อส่งเสริมศักยภาพของอาจารย์เภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ เรื่อง “clinical supervision”
ชื่อการประชุม โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อส่งเสริมศักยภาพของอาจารย์เภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ เรื่อง “clinical supervision”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-002-01-2567
สถานที่จัดการประชุม งานประชุมทางออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom webinar
วันที่จัดการประชุม 16 ก.พ. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย อาจารย์เภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ คณาจารย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ตามที่คณะเภสัชศาสตร์ ได้ปรับปรุงหลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) และได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนรายวิชาแบบบูรณาการตามแผนการดำเนินงานของหลักสูตรปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่อง โดยในหลักสูตรประกอบด้วยรายวิชาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพหลายรายวิชาตั้งแต่ระดับชั้นปีที่ 3, 4 และ 6 รวมจำนวนชั่วโมงฝึกปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่า 2,000 ชั่วโมง ตามข้อกำหนดเกี่ยวกับโครงสร้างหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตโดยสภาเภสัชกรรม ซึ่งการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์เภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ เพื่อช่วยให้นิสิตบรรลุผลลัพธ์ของการเรียนรู้ตามแนวทาง Outcome based education จึงมีความจำเป็นที่อาจารย์เภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพทุกท่าน จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับ clinical supervision ได้แก่ questioning feedback และ mentoring/coaching เพื่อการดูแลนิสิตให้ได้ผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ของรายวิชา และหลักสูตรฯ
หน่วยฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ และหน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมศักยภาพของอาจารย์เภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเรื่อง “clinical supervision” เพื่อเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะเน้นข้างต้นและสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาประยุกต์ใช้ในการดูแลนิสิตให้ได้ผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ของรายวิชาและหลักสูตรฯได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้อาจารย์เภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ ทราบและเข้าใจหลักการ clinical supervision
2.เพื่อให้อาจารย์เภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ เข้าใจทักษะ questioning feedback และ mentoring/coaching
3.เพื่อให้อาจารย์เภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ สามารถประยุกต์ใช้ทักษะข้างต้นในการดูแลนิสิตให้ได้ผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ของรายวิชา และหลักสูตรฯ
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 02-218-8283 e-mail: ce@pharm.chula.ac.th