การประชุมวิชาการ
Stop Obesity, Preventing NCDs: The Move to New Ecosystem
ชื่อการประชุม Stop Obesity, Preventing NCDs: The Move to New Ecosystem
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2002-2-000-006-02-2567
สถานที่จัดการประชุม ศูนย์การประชุม ทรูไอคอน ฮอลล์ ไอคอนสยาม กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 21 -23 ก.พ. 2567
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย สมาชิกสมาคมเภสัชกรรมชุมชนและ เภสัชกรชุมชนที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 7.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable diseases: NCDs) เป็นกลุ่มโรคที่สำคัญ และพบบ่อยในประเทศไทยและในโลก ประกอบด้วย โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน เป็นต้น โรคเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง ข้อมูลจากกองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2564 พบประชากรไทยกว่า 8 หมื่นคน เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 4 โรคหลัก (โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง) และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมีผลกับทั้งภาวะทางสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม โรคกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
แม้ในปัจจุบัน การรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีความก้าวหน้าไปมาก แต่โรคกลุ่มนี้ก็ยังมีอัตราการเสียชีวิต และทุพพลภาพสูง สมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทยจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสู่บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน โดยมุ่งเน้นถึงการให้ความรู้ที่ถูกต้อง ทันสมัย และนำไปใช้ได้จริง ซึ่งเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของชาติในแผนระดับที่ 1 และระดับที่ 2 กล่าวคือ ในด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยสนันสนุนให้ประชากรไทยมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเสริมสร้างศักยภาพ โดยพัฒนาองค์ความรู้และการสื่อสารด้านสุขภาพ ทางสมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมาอย่างสม่ำเสมอ มีการจัดงานประชุมวิชาการประจำปีสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ ในปี พ.ศ. 2566 ซึ่งมีหัวข้อเกี่ยวกับโรคอ้วน โดยมีการบรรยาย การฝึกอบรมแบบปฏิบัติการ (workshop) โดยบุคลากรการแพทย์หลากหลาย ทั้งแพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ พยาบาล นักกำหนดอาหาร ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีมาก และทางสมาคมฯ ยังมีการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนมาตลอด และได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายและสมาคมทางการแพทย์หลายแห่ง เช่น สสส. และสมาคมวิชาการทางการแพทย์ต่าง ๆ
การทำงานของสมาคมฯ มีแนวทางเผยแพร่ความรู้และการดำเนินการหลายด้าน ครอบคลุมทั้งการให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ โดยการจัดประชุมวิชาการประจำปี และการจัดประชุมวิชาการออนไลน์ ต่อเนื่องตลอดปี พ.ศ. 2566 มีการร่วมมือกับองค์กรหน่วยงานทางการแพทย์หลายระดับ หลายสาขา โดยไม่เพียงแต่มีการเชิญอาจารย์แพทย์จากคณะแพทย์ต่าง ๆ เข้าร่วมบรรยายความรู้ ทางสมาคมฯ ได้เชิญแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลส่วนภูมิภาคที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยายกับทางสมาคม เป็นการส่งต่อประสบการณ์ เปิดมิติมุมมองใหม่ ๆ แก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ให้ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้สมาคมฯ ก็มีการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย เช่น ทางสื่อออนไลน์ตลอดปี เพื่อตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของชาติตามที่กล่าวข้างต้น
ในปี พ.ศ. 2567 ทางสมาคมฯ วางแผนจัดการประชุมวิชาการประจำปี เพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์อย่างต่ำเนื่อง โดยมุ่งเน้นหัวข้อเกี่ยวกับ Healthy life style preventing NCDs ซึ่งจะครอบคลุมทั้งการรักษาและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยอาศัยการบูรณาการของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทางสังคม สิ่งแวดล้อมและการสาธารณสุข เพื่อมุ่งหวังจะเผยแพร่ความรู้ที่ทันสมัยสู่บุคลากรทางการแพทย์ โดยจะมีหัวข้อที่ครอบคลุมถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งวางแผนว่าจะมีการนำเสนอข้อมูลที่ช่วยพัฒนาด้านนโยบายของชาติในเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดจะเชื่อมโยงกับนโยบายของสสส.และกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อการบูรณาการการจัดการปัญหาโรคโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของประเทศไทยอย่างยั่งยืนสืบไป
วัตถุประสงค์
1.ทราบปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs (non-communicable diseases) และแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับบริบทของสังคม (NCDs environment)
2.มีความรู้ในการป้องกันโรค NCDs แบบบูรณาการ
3.สามารถให้ความรู้ผู้ป่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต และลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดกลุ่มโรค NCDs ได้
4.ทราบแนวทางการรักษาโรค NCDs ด้วยยา การผ่าตัด และพฤติกรรมบำบัด ที่เหมาะสมและจำเพาะสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
คำสำคัญ
Healthy life style preventing NCDs, NCDs environment, NCDs.
วิธีสมัครการประชุม
สมัครสมาชิก www.pharcpa.com