การประชุมวิชาการ
หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นทางการบริหารเภสัชกิจ เทคนิคการสังเคราะห์หลักฐานทางวิชาการเพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบายในการจัดการด้านยา
ชื่อการประชุม หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นทางการบริหารเภสัชกิจ เทคนิคการสังเคราะห์หลักฐานทางวิชาการเพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบายในการจัดการด้านยา
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-008-02-2567
สถานที่จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่จัดการประชุม 01 มี.ค. 2567 - 31 ก.ค. 2567
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร และผู้สนใจทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 30 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
การบริหารเภสัชกิจมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดเวลา การปฏิบัติต้องอาศัยความรู้และทักษะการบูรณาการเภสัชศาสตร์ร่วมกับศาสตร์สาขาอื่นในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและประชาชนให้สามารถเข้าถึงยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพเมื่อต้องการและมีการใช้อย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด วิทยาลัยการบริหารเภสัชกิจแห่งประเทศไทย สภาเภสัชกรรม ตระหนักถึงความเป็นพลวัตของบทบาทเภสัชกรในการจัดการอุปสงค์และอุปทานด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่าเภสัชกรรมในระบบสุขภาพให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชน ผลิตภัณฑ์สุขภาพ การบริการสุขภาพ รวมถึงข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เป็นผลให้เภสัชกรผู้ปฏิบัติในบทบาทหน้าที่ดังกล่าวทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชน มีความจำเป็นต้องเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านบริหารเภสัชกิจอย่างต่อเนื่อง จักเป็นประโยชน์ให้ระบบยาและสุขภาพมีการพัฒนาไปอย่างมั่นคง เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีของสังคมต่อไป
ปัจจุบันข้อมูลงานวิจัยทางด้านสุขภาพและเภสัชกรรมมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา การอ่านทำความเข้าใจให้ครบถ้วนและครอบคลุมจำเป็นต้องใช้เวลาอย่างมาก นอกจากนี้งานวิจัยหลายชิ้นอาจจะนำเสนอผลการวิจัยที่ขัดแย้งกัน การวิเคราะห์เพื่อจะนำข้อมูลไปใช้จำเป็นต้องอาศัยวิธีการที่ชัดเจนและปราศจากอคติ ดังนั้น การสังเคราะห์หลักฐานทางวิชาการด้วยวิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) จึงมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานของเภสัชกรและบุคลากรด้านสุขภาพที่จะต้องนำหลักฐานเชิงประจักษ์ไปใช้ในการตัดสินใจ เภสัชกรต้องมีความรู้ความสามารถในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ซึ่งครอบคลุมการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ประเภทของการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบวิธีต่าง ๆ ขั้นตอนและวิธีการทบทวนวรรณกรรมเริ่มตั้งแต่การตั้งคำถาม การสืบค้นบทความวิชาการที่เกี่ยวข้อง การคัดเลือกบทความ การสกัดข้อมูล การประเมินคุณภาพบทความ การวิเคราะห์ การแปลผล การจัดทำรายงานและข้อเสนอเพื่อประกอบการตัดสินใจ
ในการนี้ภาควิชาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ วิทยาลัยการบริหารเภสัชกิจแห่งประเทศไทย จึงได้จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมการบริหารเภสัชกิจระยะสั้น เทคนิคการสังเคราะห์หลักฐานทางวิชาการเพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบายในการจัดการด้านยา (Evidence Synthesis Techniques to Support Policy Decision Making in Pharmaceutical Management) ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมสถาบันหลักและสถาบันสมทบในการจัดทำโครงการฝึกอบรมด้านการบริหารเภสัชกิจต่อไป

วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เภสัชกรได้เพิ่มเติมองค์ความรู้และฝึกอบรมทักษะทางการบริหารเภสัชกิจ ให้เป็นผู้ที่มีความสามารถในการออกแบบและสังเคราะห์หลักฐานทางวิชาการผ่านดำเนินการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 02-218-8283 e-mail: ce@pharm.chula.ac.th