Popup

ลงทะเบียนการประชุมวิชาการ
ชื่อกิจกรรม การประชุมวิชาการ วิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย เรื่อง Contemporary Review in Pharmacotherapy 2025 Common Pitfalls in Pharmacy Practice: Challenge and Management 
วันที่จัดกิจกรรม 20 ส.ค. 2568 - 22 ส.ค. 2568
สถานที่จัดกิจกรรม ณ ห้องประชุมคอนเวนชั่น ฮอลล์ ชั้น 1 โรงแรมแอมบาสเดอร์ สุขุมวิท 11 กรุงเทพมหานคร

การประชุมวิชาการ วิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย

เรื่อง Contemporary Review in Pharmacotherapy 2025

Common Pitfalls in Pharmacy Practice: Challenge and Management

วันที่ 20 - 22 สิงหาคม 2568 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ โรงแรมในกรุงเทพมหานคร

หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ต่อเนื่องตลอดงานประชุม ประมาณ 15 หน่วยกิต

 

หลักการและเหตุผล

วิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย มีพันธกิจหลักในการฝึกอบรมเภสัชกรให้เป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาเภสัชบำบัด (ว.ภ. (เภสัชบำบัด)) โดยความร่วมมือ กับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งมีปรัชญาของหลักสูตร คือ ส่งเสริม ฝึกฝน และวิจัยองค์ความรู้ ทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาเภสัชบำบัด เพื่อเพิ่มคุณภาพ และยกระดับมาตรฐานในการให้บริการทางเภสัชกรรมและการบริบาลทางเภสัชกรรมในระดับสูง ผู้ผ่านการอบรม สามารถเป็นผู้แนะนำการใช้ยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม บนพื้นฐานของข้อมูลที่ทันสมัยและเชื่อถือได้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยาและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นอกจากภารกิจในด้านการฝึกอบรมเภสัชกรให้เป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ เภสัชกรรมแล้ว วิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทยยังสนับสนุนทางวิชาการ เพื่อพัฒนา และส่งเสริมศักยภาพ เภสัชกรให้สามารถปฏิบัติงานด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทย วิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทยจึงดำเนินการจัด ประชุมวิชาการ Contemporary Review in Pharmacotherapy 2025:Common Pitfalls in Pharmacy Practice: Challenge and Managementเนื่องจากการปฏิบัติงานของเภสัชกรโรงพยาบาลในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับปัจจัยหลายประการ ส่งผลให้มีโอกาสเกิดปัญหาจากการใช้ยาได้ในหลายรูปแบบ ดังนั้น เภสัชกรจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ถึงปัญหาที่พบบ่อยจากการใช้ยา มีหลักในการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาสู่แนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย

 วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสนับสนุนด้านวิชาการแก่เภสัชกรที่ปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมให้มีศักยภาพและความพร้อมในการดูแลผู้ป่วย
  2. เพื่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของเภสัชกรที่ปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรม ในแต่ละสาขา

วัน เวลา และสถานที่จัดประชุม

วันที่ 20 - 22 สิงหาคม 2568 เวลา 8.30 - 16.30 น.

ณ โรงแรมในกรุงเทพมหานคร

รูปแบบการจัดประชุม

บรรยายวิชาการ (onsite)

จำนวนหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง

ประมาณ 15 หน่วยกิต

ผู้เข้าร่วมประชุม

เภสัชกร / อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ / บุคลากรทางการแพทย์ทั่วไป ประมาณ 200 คน

การสมัครและลงทะเบียน (ค่าลงทะเบียนตลอดงานประชุม)

-         เภสัชกรและบุคลากรทางการแพทย์ทั่วไป                                               เป็นเงิน 4,500 บาท

-         เภสัชกรที่ได้รับวุฒิบัตรฯ / หนังสืออนุมัติฯ จากวิทยาลัยเภสัชบำบัดฯ                เป็นเงิน 4,000 บาท

          และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

-         อาจารย์ประจำสถาบันฝึกอบรม ในสังกัดวิทยาลัยเภสัชบำบัดฯ                        เป็นเงิน 3,500 บาท

           คณะอนุกรรมการฯ คณะทำงานฯ ที่ดำเนินงานให้กับวิทยาลัยเภสัชบำบัดฯ ณ ปัจจุบัน

           เภสัชกรประจำบ้านในสังกัดวิทยาลัยเภสัชบำบัดฯ และนักศึกษาเภสัชศาสตร์

วิธีการลงทะเบียน : สามารถลงทะเบียนผ่านระบบ E-SERVICE บนเวบไซต์ของสภาเภสัชกรรม โดยลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม – 1 สิงหาคม 2568 เวลา 16.30 น.

                               **วิทยาลัยเภสัชบำบัดฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่คืนค่าลงทะเบียน ในทุกๆกรณี

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เภสัชกรผู้เข้าร่วมประชุมได้รับการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับเภสัชบำบัด
    1. เภสัชกรผู้เข้าร่วมประชุมนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาการปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมในหน่วยงานของตน
    2. เกิดความร่วมมือพัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรมระหว่างวิทยาลัยเภสัชบำบัด คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
      และ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับหน่วยงานที่ให้บริการด้านบริบาลทางเภสัชกรรม

ดัชนีวัดความสำเร็จของโครงการเชิงปริมาณ

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่า 200 คน

ดัชนีวัดความสำเร็จของโครงการเชิงคุณภาพ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีคะแนนแบบทดสอบผ่านเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 80