แนะนำวิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย

  วิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย 

             เภสัชกรรม ได้ออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยวิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551  โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2551 วิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย มีชื่อย่อว่า ว.ท. ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า TheCollege ofPharmacotherapy ofThailand (C.Ph.T.) มีหน้าที่หลักในการจัดฝึกอบรมและจัดสอบผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาเภสัชบำบัด นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานการประกอบวิชาชีพด้านเภสัชบำบัด ศึกษาวิจัย และเผยแพร่ความรู้ด้านเภสัชบำบัด

วิทยาลัยเภสัชบำบัดฯ มีสมาชิก 3 ประเภท ได้แก่

                  1. สมาชิกสามัญ ได้แก่ ผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

                      1.1.เป็นสมาชิกสภาเภสัชกรรม และเป็นผู้ได้รับหนังสืออนุมัติหรือ วุฒิบัตรเป็นผู้มีความรู้
                           ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาเภสัชบำบัด หรือวุฒิบัตรที่
                           สภาเภสัชกรรมรับรอง

                      1.2.เป็นสมาชิกสภาเภสัชกรรม และเป็นสมาชิกก่อตั้งวิทยาลัยตามรายชื่อที่คณะกรรมการ
                           สภาเภสัชกรรมรับรอง

                  2. สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ ผู้มีคุณสมบัติเป็นสมาชิกสภาเภสัชกรรม และเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่
                      ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี ทั้งนี้โดยความเห็นชอบของวิทยาลัย

                  3. สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ผู้มีคุณวุฒิที่วิทยาลัยเชิญให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์

การดำเนินงานในปัจจุบัน

               คณะผู้บริหารวิทยาลัยบำบัดแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยกรรมการ จำนวน 11 ท่าน พร้อมคณะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ จำนวน 6 ท่าน รวมทั้งสิ้น 17 ท่าน ดำเนินการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาเภสัชบำบัด โดยมีสถาบันหลักที่ได้รับการรับรองจากสภาเภสัชกรรม
ในการจัดฝึกอบรมรวม 6 แห่ง ได้แก่

                  1. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

                  2. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

                  3. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

                  4. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

                  5. คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                  6. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

 หลักสูตรการฝึกอบรม

                  1. วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาเภสัชบำบัด

                      1.1. ระยะเวลาในการฝึกอบรม  4  ปี

                      1.2. วิธีการฝึกอบรมประกอบด้วย

                            1.2.1. ภาคทฤษฏี  จำนวน 10 หน่วยกิต

                            1.2.2. ภาคปฏิบัติ ปฏิบัติการและฝึกปฏิบัติงานในสาขาเภสัชบำบัด ในสถาบันฝึกอบรม
                                     ของสภาเภสัชกรรม  จำนวน  91  หน่วยกิต

                            1.2.3. การทำวิจัย   จำนวน 32 หน่วยกิต

                  2. ประกาศนียบัตร

                            2.1.  ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมในปีที่ 1 จะได้รับประกาศนียบัตร
                                   General residency in Pharmacotherapy

                            2.2.  ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมในปีที่ 3 จะได้รับประกาศนียบัตร
                                   Specialized residency in ________  pharmacotherapy

                            2.3.  ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมในปีที่ 4 จะได้รับประกาศนียบัตร
                                   Specialized fellowship in ________ pharmacotherapy

                  3. ประกาศนียบัตรการฝึกอบรมระยะสั้น 3 เดือน

                            3.1.  หลักสูตรการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยมะเร็ง

                            3.2.  หลักสูตรการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก

                            3.3.  หลักสูตรการตรวจติดตามระดับยาในเลือด

 

                  ผู้เข้าฝึกอบรมที่ไม่สามารถเข้าฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าฝึกอบรมในชั้นปีที่ 1 เมื่อผ่านการประเมินผลจะได้รับประกาศนียบัตร General residency in Pharmacotherapy  และเมื่อพร้อมสามารถกลับเข้ามาฝึกอบรมต่อในชั้นปีที่ 2 และ 3 ได้ โดยจะได้รับประกาศนียบัตร Specialized residency in ……………….. pharmacotherapy ในสาขาที่ฝึกอบรม  หากเข้าฝึกอบรมต่อในชั้นปีที่ 4 จะได้รับประกาศนียบัตร Specialized fellowship in ………….. pharmacotherapy ในสาขาที่ฝึกอบรมและทำวิจัย ดังนั้นผู้ที่เข้าฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เมื่อผ่านการประเมินผลทั้งหมดจะได้รับวุฒิบัตรฯ สาขาเภสัชบำบัด และ ประกาศนียบัตรดังกล่าว

                  วิทยาลัยเภสัชบำบัดกำหนดการรับสมัครผู้เข้าฝึกอบรมในเดือน มีนาคมของทุกปี สามารถหารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก Website สภาเภสัชกรรม www.pharmacycouncil.org

 

หนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาเภสัชบำบัด

                  วิทยาลัยเภสัชบำบัดมีหน้าที่ในการจัดสอบประเมินความรู้ความสามารถด้านเภสัชบำบัดให้แก่เภสัชกรที่ทำหน้าที่บริบาลทางเภสัชกรรม ให้ได้รับหนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาเภสัชบำบัด โดยผู้ขอรับการประเมินต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 

                       1. ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางเภสัชกรรม

                       2. ประกอบวิชาชีพในสาขาเภสัชบำบัดหรือที่เกี่ยวข้องเกื้อกูล มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี

                       3. มีคุณสมบัติเทียบเท่าตามที่สภาเภสัชกรรมรับรอง

                  ผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวสามารถส่งใบสมัครมาที่วิทยาลัยเภสัชบำบัดฯ ได้โดยจะมีประกาศรับสมัครสอบเพื่อประเมินความรู้ปีละหนึ่งครั้งในเดือน มีนาคม

 

การจัดการศึกษาต่อเนื่องแก่เภสัชกร

                  วิทยาลัยเภสัชบำบัดฯ ได้ดำเนินการจัดประชุมทางวิชาการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 เป็นต้นมา โดยกำหนดจัดปีละครั้ง มีเนื้อหาทางด้านเภสัชบำบัดเพื่อให้เภสัชกรที่ทำหน้าที่ในการบริบาลทางเภสัชกรรมมีความรู้ที่ทันสมัย โดยใช้ชื่อการประชุมว่า“เภสัชบำบัดร่วมสมัย (Contemporary Review in Pharmacotherapy)” วิทยาลัยเภสัชบำบัดฯ จัดการประชุมนี้มาแล้วรวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง มีเภสัชกรเข้าร่วมการประชุมกว่า 2,000 คน